Quantcast
Channel: DroidSans blogs
Viewing all articles
Browse latest Browse all 6898

Nokia และ SK Telecom ประสบความสำเร็จในการส่งไฟล์ขนาด 5GB ผ่านโครงข่าย LTE ใช้เวลาเพียง 11 วินาที

$
0
0

แม้ว่า Nokia จะขายธุรกิจฝั่งโทรศัพท์มือถือให้กับ Microsoft ไปแล้ว แต่ในฝั่งธุรกิจเครือข่าย Nokia Solutions and Networks (ชื่อเดิมคือ Nokia Siemens Networks) ซึ่งไม่ได้ขายไปด้วยก็ยังคงมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจอย่างต่อเนื่องครับ

ล่าสุดทาง Nokia ได้จับมือกับทาง SK Telecom เครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ในเกาหลีใต้เพื่อทดสอบการส่งไฟล์ที่ความเร็ว 3.78 Gbps บนโครงข่าย LTE ครับ

ปัจจุบันมาตรฐาน 4G LTE-A รุ่นล่าสุดคือ Category 6 สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 300 Mbps ซึ่งเครือข่ายแรกในโลกที่มีการเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการคือ EE ของประเทศอังกฤษครับ เริ่มให้บริการในกรุงลอนดอน เพิ่งจะเปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2013 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นมาตรฐานที่ใหม่ที่สุดและเร็วที่สุดในขณะนี้แล้ว เร็วกว่า 4G LTE-A Category 4 รุ่นก่อนหน้าถึง 2 เท่าเลยทีเดียว แต่ก็ถือว่ายังห่างไกลกับความเร็วที่ทาง Nokia และ SK Telecom ได้ทำการทดสอบครับ ส่วน 4G ที่ทาง dtac และ TrueMove H เปิดให้บริการในประเทศไทยนั้นยังเป็น 4G LTE Category 3 ธรรมดาครับ ยังไม่ใช่ Advance

การทดสอบนี้ใช้เทคโนโลยี Single RAN ของ Nokia ประกอบด้วย Flexi Multiradio จำนวน 10 สถานีฐาน, การปรับแต่งทางด้านซอฟต์แวร์ และการรวมเทคโนโลยี LTE-Advance MIMO (Multiple Input Multiple Output) ทำให้สามารถส่งข้อมูลขนาด 5GB ซึ่งเทียบเท่ากับหนัง HD ความละเอียดสูง 1 เรื่อง โดยใช้เวลาเพียง 11 วินาทีเท่านั้น การทดสอบทำโดยใช้ช่วงคลื่นความถี่กว้าง 200 MHz โดยการรวมย่านความถี่ทั้งหมด 10 ย่านเข้าด้วยกัน ทั้งแบบ FDD และ TDD รวมกันแล้วเท่ากับว่าได้ความเร็วสูงสุดถึง 3.78 Gbps เลยทีเดียว

  • การรับส่งข้อมูลแบบ FDD การดาวน์โหลดกับอัพโหลดจะใช้ความถี่แยกกัน เสมือนกับใช้ท่อคนละท่อในการส่งข้อมูล ข้อดีก็คือได้ความเร็วที่สูงกว่า แต่ข้อเสียคือต้องใช้คลื่นความถี่ถึง 2 ย่านในการให้บริการ ซึ่งบางครั้งย่านความถี่ฝั่งดาวน์โหลดอาจจะว่าง แต่ฝั่งอัพโหลดอาจจะไม่ว่าง ก็ทำให้ไม่สามารถให้บริการแบบ FDD ได้ ต้องหันไปใช้แบบ TDD แทน แต่ที่น่าดีใจคือส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะใช้ระบบนี้เกือบหมดครับ
  • การรับส่งข้อมูลแบบ TDD การดาวน์โหลดกับอัพโหลดจะใช้ความถี่เดียวกัน เสมือนกับใช้ท่อเดียวกันในการส่งข้อมูล หลักการคือใช้การสลับไปมาอย่างรวดเร็วระหว่างดาวน์โหลดกับอัพโหลดในช่องความถี่เดียวกัน การสลับนั้นจะเร็วซะจนผู้ใช้ไม่สามารถรู้สึกได้ครับว่ามีการสลับไปมา ข้อดีคือใช้ย่านความถี่เพียงย่านเดียว ประหยัดคลื่นความถี่ แต่ข้อเสียคือความเร็วจะสู้แบบ FDD ไม่ได้ครับ

แต่ว่าในความเป็นจริงนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะสามารถมีคลื่นความถี่กว้างถึง 200 MHz เพื่อนำมาให้บริการได้ ทางแก้ก็คือต้องหันไปใช้คลื่นความถี่ช่องสูง ๆ ที่ยังไม่มีคนใช้ แต่ข้อเสียของย่านความถี่สูงคือระยะการส่งข้อมูลจะไม่ไกลนัก ตามหลักฟิสิกส์คือ ยิ่งคลื่นความถี่ต่ำยิ่งเดินทางได้ไกล ความถี่สูงก็จะตรงกันข้ามครับ แน่นอนว่าย่านความถี่ต่ำในโลกปัจจุบันนั้นถูกใช้เกือบหมดแล้ว การใช้ย่านความถี่สูงร่วมกับเทคนิคหลาย ๆ อย่างเช่น Beamforming เพื่อยิงสัญญาณเป็นเส้นตรง หรือการเร่งความแรงของสายอากาศก็จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ในระดับหนึ่งและทำให้มีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้นครับ

คุณสมบัติเด่นของเทคโนโลยี LTE Advance คือการรวมย่านความถี่หลายย่านเข้าด้วยกัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้ช่วงความถี่ที่ติดกันในการให้บริการ ทำให้สามารถรวมทุกคลื่นความถี่ที่มีอยู่ในมือเข้าด้วยกันได้ ทำให้ได้แบนด์วิธที่กว้างขึ้นเป็นอย่างมาก

ก่อนหน้านั้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ที่ผ่านมาในงาน Mobile World Congress ทาง Qualcomm ได้จะเปิดตัวโมเด็มเครือข่าย Gobi ตัวใหม่ที่รองรับ LTE Category 6 ความเร็วสูงสุด 300 Mbps ไป โดยการสาธิตภายในงานใช้ Samsung Galaxy Note 3 รุ่นปรับแต่งพิเศษบน SoC Snapdragon 805 กับโมเด็ม Gobi 9x35 ที่ผลิตที่กระบวนการผลิต 20 นาโนเมตรครับ

ที่มา: TelecomLeadผ่าน Pocket-lint


Viewing all articles
Browse latest Browse all 6898

Trending Articles